วันจันทร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2560

อุดมคติในทางพระพุทธศาสนา

อุดมคติในทางพระพุทธศาสนา 
Buddhist ideals

             พระพุทธศาสนามีคำสอนที่เป็นเหตุเป็นผล เป็นสัจนิยมที่สอนเรื่องความจริงของสิ่งทั้งหลาย หลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนั้นเน้นเรื่องการทำชีวิตให้มีความสุขทั้งในชาตินี้ ชาติหน้า และเป้าหมายสูงสุดที่เรียกว่า ปรมัตถประโยชน์ คือ พระนิพพาน พระนิพพานก็คือเป้าหมายสูงสุดที่ทุกคนมีศักยภาพที่จะเข้าถึงได้ เป็นสภาวะที่หลุดพ้นจากพันธนาการแห่งกิเลสและสิ่งมัวหมองทั้งหลาย แม้ยังมีชีวิตการนิพพานก็คือการไม่มีกิเลสเป็นพระอรหันต์ เป็นผู้ไกลจากกิเลส อยู่ในโลกอย่างเข้าใจโลก อยู่ในโลกอย่างเหนือโลก ในการนี้จึงนำเสนอลักษณะพิเศษหรืออุดมคติของพระพุทธศาสนา เพื่อให้ผู้ศึกษาได้เห็นและเข้าใจตามเป็นจริง โดยจะแยกเป็นประเด็นไป ดังนี้
 ศาสนาแห่งความมีเหตุผล
                พระพุทธเจ้าได้ทรงถือปัญญาว่าเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุด พระพุทธเจ้าสอนคนให้ใช้ เหตุผลมองการณ์ไกลไปในโลก พระพุทธเจ้าทรงอธิบายปรากฏการณ์ของมนุษย์และธรรมชาติ มิใช่โดยความเชื่อหรือความยึดถือในความเหนือเหตุผลที่ไร้เหตุผล แต่โดยการใช้กฎแห่งความเป็นเหตุผลที่เป็นเหตุเป็นผล ทุกสิ่งทุกอย่างทั้งที่เป็นรูปธรรมและไม่เป็นรูปธรรมทั้งหมดต้องอยู่ในกฎเกณฑ์แห่งธรรมชาติ (นิยาม) กฎธรรมชาติหรือนิยาม ๕ ประเภท ได้กล่าวไว้ตามลำดับใน สุมังคลวิลาสินี ดังต่อไปนี้
.กรรมนิยาม เป็นกฎแห่งกรรมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์ นั่นก็คือ กระบวนการแห่งการกระทำ และการให้ผลแห่งการกระทำ ว่าตามกฎข้อนี้คือกฎแห่งกรรม กรรมหรือการกระทำก่อให้เกิดผลิตผลแห่งวิปากกรรม การกระทำที่ดีจะผลิตผลที่ดี และการทำชั่วจะผลิตผลที่ชั่ว
.อุตุนิยาม เป็นกฎธรรมชาติเกี่ยวกับวัตถุทางกายภาพ เช่น การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ, ฤดูกาล และเหตุการณ์ที่เป็นไปตามทางกายภาพ
. พีชนิยาม เป็นกฎธรรมชาติแห่งพันธุกรรม ดังคำกล่าวที่ว่า“ตามที่พืชท่านหว่านลงไปเช่นใด ท่านก็จะได้ผลที่ได้รับจากการกระทำ”
.จิตตนิยาม เป็นกฎทางด้านจิตใจที่เกี่ยวกับงานของจิต เช่น หน้าที่ของวิญญาณในกระบวนการแห่งการเสวยอารมณ์ (เวทนา) และการรับรู้
.ธรรมนิยาม เป็นกฎแห่งธรรมที่ควบคุมความสัมพันธ์และความเกี่ยวเนื่องกันแห่งทุกสิ่งทุกอย่าง นั่นคือกฎแห่งปฏิจจสมุปบาท ปฏิจจสมุปบาทเป็นกฎสากลที่สุด ที่รวมเอานิยาม ๔ ข้างต้นเอาไว้
โดยกฎหมวดนี้ พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธความเป็นผู้ชี้ขาดของลัทธิเทวนิยม ช่วงชีวิตของมนุษย์ไม่ได้กำหนดโดยเจตนาของพระผู้เป็นเจ้า (อิสสรนิมานเหตุ) แต่โดยกรรมที่เขาทำไว้ สภาวะปัจจุบันของมนุษย์เป็นผลแห่งการกระทำหรือกรรมในอดีตของเขา พระพุทธเจ้าตรัสว่า “สัตว์มีชีวิตเป็นเจ้าของแห่งการกระทำของตน เป็นผู้ทายาทแห่งการกระทำของตน การกระทำหรือกรรมนั้นเป็นมดลูกที่ตนถือกำเนิดมา การกระทำของตนเป็นเพื่อน เป็นที่พึ่งที่อาศัย ยิ่งไปกว่านั้นความเชื่อที่เหนือเหตุผลในหลายรูปแบบนั้นถูกปฏิเสธโดยพระพุทธเจ้า” ดังที่พระองค์ตรัสว่า
แม้ว่าจะชำระล้างตนเองอยู่เป็นประจำในแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์เช่นแม่น้ำพหุคะ แม่น้ำคยา คนโง่ก็ไม่ได้ทำความสะอาดของกรรมที่เลวทรามของเขาได้ แม่น้ำเหล่านี้จะทำอะไรได้ แม่น้ำเหล่านั้นไม่สามารถจะชำระล้างคนผิดที่เลวร้ายนั้นผู้ซึ่งทำกรรมชั่วมาได้เลย เพราะความบริสุทธิ์เท่านั้นเป็นสิ่งที่ดีและเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทุกๆ วันอยู่แล้ว”
คนโง่ผู้ซึ่งเฝ้ามองความดีจะเสียประโยชน์ของตนไป ประโยชน์นั้นเป็นโชคในตัวของมันเอง เพียงแต่ดวงดาวนั้นจะทำอะไรให้เขาได้?”
เป็นเรื่องที่ควรค่าที่กล่าวไว้ในที่นี้ว่า ความมีเหตุมีผลมุมมองที่เหตุผลของพระพุทธศาสนานำไปสู่ความเป็นมิตรกับวิทยาศาสตร์ ในประวัติศาสตร์อันยาวนานของพระพุทธศาสนาไม่เคยมีข้อวิภาษกับวิทยาศาสตร์หรือนักวิทยาศาสตร์ เนื่องมาจากข้อเท็จจริงที่ว่าพระพุทธศาสนาปฏิเสธความเชื่อในพระผู้เป็นเจ้า และความเชื่อที่ไร้เหตุซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับของวิทยาศาสตร์ ยิ่งไปกว่านั้นทั้งพระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์ได้มีผลประโยชน์ร่วมกันในเรื่องกฎแห่งธรรมชาติ ในเรื่องความเป็นเหตุเป็นผลนั้นเป็นรากฐานร่วมกันมีความเป็นไปกันได้ระหว่างพระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์ อัลเบริต ไอสไตน์ นักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษที่ ๒๐ กล่าวไว้ว่า ศาสนาในอนาคตจะเป็นศาสนาแห่งสากล ศาสนานั้นควรจะอยู่เหนือพระผู้เป็นเจ้า หลีกเลี่ยงความยึดมั่นถือมั่นและวิชาที่ว่าด้วยทฤษฎี ครอบคลุมทั้งทางด้านธรรมชาติและทางด้านจิตวิญญาณ ศาสนานั้นควรจะตั้งอยู่บนรากฐานแห่งความหมายทางศาสนาที่เกิดมาจากประสบการณ์แห่งทุกสิ่งทุกอย่างทั้งทางธรรมชาติและจิตวิญญาณในฐานะที่เป็นหน่วยที่มีความหมายแห่งศาสนา และศาสนาที่ว่านี้เป็นศาสนาในอนาคต พระพุทธศาสนาให้คำตอบต่อนิยามนี้ได้ แล้วเขากล่าวต่อไปว่า ถ้าจะมีศาสนาซักศาสนาหนึ่งที่จะครอบคลุมความจำเป็นทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ศาสนานั้นก็ควรจะเป็นพระพุทธศาสนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การบัญญัติสิกขาบทของพระพุทธเจ้า (บัญญัติพระวินัย)

การบัญญัติสิกขาบทของพระพุทธเจ้า (บัญญัติพระวินัย) การบัญญัติพระวินัยของพระพุทธเจ้ามีที่มาและมีขั้นตอนตามลำดับ ดังนี้ ในสมัยหนึ่ง พระผู้มี...