วันอาทิตย์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2560

เนื้อหาของพุทธปรัชญาในพระไตรปิฎก

พุทธปรัชญา

         พระพุทธเจ้าหรือพระมานเดิมว่า เจ้าชายสิตถะ ผู้เป็นต้นกำเนิดของพุทธปรัชญา แม้เจ้าชายสิทธัตถะจะทรงสุขสำราญเพียบพร้อมไปด้วยสมบัติ และห้อมล้อมไปด้วยบริวารมากมายก็ตาม แต่พระองค์ก็มิได้ทรงหลงหรือคลั่งไคล้อยู่กับสิ่งเหล่านั้น พระองค์ทรงสนพระทัยในปัญหาต่าง ๆ อยู่เสมอ ปัญหาที่กำลังคุกคามต่อประชาชนอยู่ในขณะนั้น ก็คือความทุกข์ยากของประชาชน พระองค์ทรงคิดว่าปัญหาทั้งหลายมีทางที่จะแก้ได้ เจ้าชายสิทธัตถะจึงทรงตัดสินพระทัยออกผนวช ขณะที่พระองค์ทรงมีพระชนมายุได้ 29 พรรษา เพื่อที่จะทำการค้นหาหนทางแก้ความทุกข์ยากทั้งปวง หลังจากที่พระองค์ได้ทรงอธิษฐานการบวชในเพศของบรรพชิตแล้วพระองค์ก็เสด็จเข้าศึกษาในสำนักของคณาจารย์ที่มีชื่อเสียง สำนักของอาฬารดาบสและอุทกดาบส ก็เป็นสำนักหนึ่งที่พระองค์ได้เคยเข้าไปศึกษามาจนจบแล้ว เมื่อพระองค์ได้ศึกษาค้นคว้าจากสำนักอาจารย์ต่าง ๆ แล้ว พระองค์ก็พบว่าคำสอนและวิธีปฏิบัติของบรรดาอาจารย์เหล่านั้นมิใช่หนทางแห่งการดับทุกข์ได้หมดสิ้นดังนั้น พระองค์จึงออกมาค้นหาสัจธรรมด้วยพระองค์เอง พระพุทธองค์เข้าสู่ปรินิพพาน ณ เมืองกุสินารา เมื่อพระชนมายุได้ 80 พรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ก่อนที่พระองค์จะเข้าสู่ปรินิพพาน พระองค์ได้ประทานปัจฉิมโอวาทว่า “ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนพวกเธอทั้งหลายให้รู้ สังขารทั้งหลายมีการเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดาเธอทั้งหลาย จงยังกิจของตนและผู้อื่นให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด”
พระพุทธเจ้ามิได้ทรงแต่ตั้งให้สาวกรูปใดเป็นศาสดาแทนพระองค์ โดยพระองค์ตรัสว่า พระธรรมวินัยเป็นศาสนาแทนพระองค์ การที่จะเห็นพระพุทธองค์นั้นก็คือการเห็นธรรมวินัย ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า “ใครเห็นธรรมว่าเห็นเรา”

ความหมายและหลักคำสอนพื้นฐานในพุทธปรัชญา 
พุทธปรัชญา คือ หลักคำสอนเกี่ยวกับความจริง (สัจธรรม) และหลักปฏิบัติ (จริยธรรม) บางประการของพระพุทธศาสนาที่นำมาศึกษาวิเคราะห์ด้วยการใช้เหตุผลตามวิธีการของปรัชญา ตามคำนิยามนี้หมายความว่า พุทธปรัชญาจะจำกัดวงอยู่ในส่วนที่เป็นศาสนธรรมของพระพุทธศาสนาเท่านั้น


คัมภีร์ของพุทธปรัชญา 
คัมภีร์ที่สำคัญของพุทธปรัชญาเรียกว่า “พระไตรปิฎก” ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่รวมเอาหลักธรรมของพุทธปรัชญามารวมไว้เป็นหมวดหมู่ หลักธรรมเหล่านั้นมีทั้งหมด 84,000 พระธรรมขันธ์ นอกจากนี้ ยังมีหนังสือที่นักปราชญ์ทางพุทธศาสนาได้เขียนขึ้นมามากมาย เช่น พระอรรถกถาจารย์ได้เขียนคำอธิบายข้อความในพระไตรปิฎกขึ้น เรียกว่า “อรรถกถา” พระฎีกาจารย์ได้เขียนหนังสืออธิบายข้อความในอรรถกถาเรียกว่า “ฎีกา” และพระอนุฎีกาได้เขียนหนังสืออธิบายฎีกาอีกต่อหนึ่ง เรียกว่า “อนุฎีกา” นักปราชญ์ทางพุทธศาสนายังเขียนหนังสือเพื่ออธิบายอนุฎีกาอีก เรียกว่า “โยชนา” นอกจากนี้ ก็ยังมีหนังสือที่แต่งขึ้นเพื่ออธิบายหัวข้อธรรมเฉพาะเรื่องอีกเรียกว่า “ปกรณ์วิเสส” เช่น มงคลทีปนี วิสุทธิมรรค เป็นต้น ซึ่งเป็นผลงานการรจนาของพระมหาเถระผู้มีความเชี่ยวชาญในศาสนาพุทธหลักธรรมในพระไตรปิฎกถือว่าเป็น “พุทธพจน์” หรือ “พระบาลี” คือเป็นถ้อยคำหรือคำพูดที่พระพุทธองค์ตรัสเอง และถือว่าเป็นหลักฐานหรือข้อมูลขั้นที่หนึ่ง (ข้อมูลขั้นต้น) ในการศึกษาหรือนำมาอ้างอิง แต่บางตอนอาจจะเป็นถ้อยคำหรือคำพูดของสาวกบ้าง แต่พระพุทธองค์ก็ทรงรับรองอีกครั้งหนึ่ง

หลักธรรมในพุทธปรัชญาทั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์ นี้ แบ่งออกได้เป็น 3 หมวดใหญ่ ๆ ตามลักษณะของคำสอน พระไตรปิฎก แปลว่า ตะกร้า 3 หมายถึงการจัดหมวดหมู่ของหลักธรรมไว้เป็น 3 หมวดแล้วเรียกชื่อตามหมวดของหลักธรรมนั้น ๆ ได้แก่ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก และแต่ละหมวดก็การแบ่งย่อยออกไปอีก ดังรายละเอียด ดังนี้

พระวินัยปิฎก มีตัวข้อธรรมที่เรียกว่า “พระธรรมขันธ์” ทั้งหมดมี 21,000 พระธรรมขันธ์ แบ่งออกเป็น 5 หัวข้อใหญ่ ๆ คือ 
(1) อาทิกรรม (สุตตวิภังค์)
(2) ปาจิตตีย์ (ภิกขุณีวิภังค์)
(3) มหาวรรค
(4) จุลวรรค
(5) ปริวาร

พระสุตตันปิฎก มีหัวธรรมทั้งหมด 21,000 พระธรรมขันธ์ เป็นคำสอนที่ได้มาจากการบันทึกการเทศนาของพระพุทธเจ้า รายละเอียดในแต่ละเรื่องจะบอกว่าพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ใด มีใครเป็นผู้สดับธรรม ทรงแสดงธรรมเรื่องอะไร และเมือจบพระธรรมเทศนาแล้ว ปรากฏผลอย่างไรบ้าง พระสุตตันตปิฎกแบ่งออกเป็น 5 คัมภีร์ใหญ่ ๆ คือ 
(1) ทีฆนิกาย
(2) มัชฌิมนิกาย
(3) สังยุตตนิกาย
(4) อังคุตตนิกาย
(5) ขุททกนิกาย

พระอภิธรรมปิฎก มีหัวข้อธรรมทั้งหมด 42,000 พระธรรมขันธ์ เป็นคำสอนเกี่ยวกับปรมัตถธรรมล้วน ๆ เป็นชั้นสูง ละเอียดลึกซึ้ง การพรรณนาหรือการอธิบายไม่ระบุบุคคล สถานที่ และกาลเวลา แบ่งออกเป็น 7 คัมภีร์ คือ 
(1) สังคณี
(2) วิภังค์
(3) ธาตุกถา
(4) ปุคคลบัญญัติ
(5) กถาวัตถุ
(6) ยมก
(7) ปัฏฐาน

พุทธธรรมที่สำคัญ 
พระพุทธเจ้าไม่ทรงสอนอภิปรัชญาที่ขาดจากภาคปฏิบัติ พระองค์จึงไม่ทรงเน้นเรื่องเกี่ยวกับปัญหาอภิปรัชญาในสมัยนั้นนิยมคิดกัน แต่ทรงสอนเน้นในเรื่องการปฏิบัติเพื่อการพ้นทุกข์เป็นสำคัญ การที่พระองค์ทรงเพิกเฉยต่อปัญหาอภิปรัชญาก็ด้วยเหตุผลที่ว่า การถกเถียงในเรื่องของโลกว่า เที่ยงหรือไม่? เป็นต้น ตามทัศนะของพุทธเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อการพ้นทุกข์ ไม่ใช้เหตุที่จะนำมหาชนเข้าสู่จุดหมายปลายทางแห่งชีวิตอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม แม้พระพุทธองค์ทรงไม่พยากรณ์ในเรื่องทั้งหลายดังกล่าว แต่ในพุทธธรรมที่พระองค์ตรัสไว้ก็เป็นการตอบปัญหาในเรื่องอภิชญาอย่างชัดเจนอยู่ในตัวแล้ว ซึ่งจะได้กล่าวถึงพุทธธรรมบางหัวข้อ เป็นต้นลำดับ ดังต่อไปนี้ ทุกข์เป็นสำคัญ การที่พระองค์ทรงเพิกเฉยต่อปัญหาอภิปรัชญาก็ด้วยเหตุผลที่ว่า การถกเถียงในเรื่องของโลกว่า เที่ยงหรือไม่? เป็นต้น ตามทัศนะของพุทธเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อการพ้นทุกข์ ไม่ใช้เหตุที่จะนำมหาชนเข้าสู่จุดหมายปลายทางแห่งชีวิตอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม แม้พระพุทธองค์ทรงไม่พยากรณ์ในเรื่องทั้งหลายดังกล่าว แต่ในพุทธธรรมที่พระองค์ตรัสไว้ก็เป็นการตอบปัญหาในเรื่องอภิชญาอย่างชัดเจนอยู่ในตัวแล้ว ซึ่งจะได้กล่าวถึงพุทธธรรมบางหัวข้อ เป็นต้นลำดับ ดังต่อไปนี้

อริยสัจ 4 (The Four Noble Truths) 
อริยสัจ แปลตามอักษรว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของท่านผู้ประเสริฐ (อริยะ) หรือ ความจริงอันทำให้บุคคลเป็นผู้ประเสริฐ ดังนั้น ผู้ใดรู้แจ้งเห็นจริงในอริสัจ ผลนั้นก็จะกลายเป็นพระอริยบุคคลหากจะกล่าวโดยสรุป คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดอาจประมวลลงในอริยสัจ เป็นต้นว่า หลักขันธ์ 5 หลักไตรลักษณ์ หลักธรรมและหลักปฏิจจสมุปบาท เป็นอาทิ ล้วนแต่เป็นเรื่องของทุกข์สัจทั้งสิ้น การที่พระพุทธองค์ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ก็เพราะทรงตรัสรู้อริยสัจ 4 นี่เอง ด้วยเหตุนี้ อริยสัจ 4 จึงมีความสำคัญมาก อาจกล่าวได้ว่า อริยสัจ 4 เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาทีเดียว

แหล่งที่มา <https://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/buddhist_philosophy/index.html
(สิงหาคม 2543)

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ27 มกราคม 2565 เวลา 04:37

    Emperor Casino: €1600 Bonus + 100 Free Spins!
    Play Emperor Casino: €1600 Bonus 바카라사이트 + 100 Free Spins! We 제왕 카지노 have everything you need to bet big. Register deccasino at any of our casino and start playing!

    ตอบลบ

การบัญญัติสิกขาบทของพระพุทธเจ้า (บัญญัติพระวินัย)

การบัญญัติสิกขาบทของพระพุทธเจ้า (บัญญัติพระวินัย) การบัญญัติพระวินัยของพระพุทธเจ้ามีที่มาและมีขั้นตอนตามลำดับ ดังนี้ ในสมัยหนึ่ง พระผู้มี...